ดอกทุ้งฟ้า
ดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่
ดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
กระบี่
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกทุ้งฟ้า
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Alstonia
macrophylla Wall.
|
วงศ์
|
APOCYNACEAE
|
ชื่ออื่น
|
ทุ้งฟ้าไก่, ตีนเทียน, พวมพร้าว
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้น
สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีขาวอมเทา มีน้ำยางสีขาว
ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ
กว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-30 ซม.
ปลายเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีขาว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
จำนวนมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5
กลีบ ออกดอกระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เป็นไม้ที่ต้องการความชื้นมาก
เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดี
|
ถิ่นกำเนิด
|
ป่าดงดิบ
ภาคใต้
|
ดอกกาญจนิกา
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
กาญจนบุรี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกกาญจนิกา
|
ชื่อสามัญ
|
Night Flower
Jasmin
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Nyctathes
arbotristis
|
วงศ์
|
|
ชื่ออื่น
|
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ
15 เมตร ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ สลับกันไปตามข้อของต้น สีเขียวมีขนอ่อนๆ
ออกดอกเป็นช่อ ตามส่วนยอดและโคนก้านใบ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-8 ดอก ดอกสีขาวมี 6 กลีบ
กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวางคล้ายกังหัน ปลายกลีบเหมือนหางปลา
วงในดอกเป็นสีแดงแสด หลอดดอกสีแง เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก
มีกลิ่นหอม บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
ตอนกิ่ง และปักชำ
|
สภาพที่
|
ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
|
ดอกพะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
กาฬสินธุ์, พัทลุง
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกพะยอม
|
ชื่อสามัญ
|
Shorea white
Meranti
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Shorea talura
Roxb.
|
วงศ์
|
DIPTEROCARPACEAE
|
ชื่ออื่น
|
กะยอม
(เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่),
พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี,
ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)
|
ลักษณะทั่วไป
|
พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง
ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน
ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3
กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม
กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
|
การขยายพันธุ์
|
การเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
สภาพดินทุกชนิด
เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
|
ถิ่นกำเนิด
|
พบตามป่าผลัดใบ
และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย,
พม่า, มาเลเซีย
|
ดอกพิกุล
ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกพิกุล
|
ชื่อสามัญ
|
Bullet Wood,
Spanish Cherry
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Mimusops
elengi Linn.
|
วงศ์
|
SAPOTACEAE
|
ชื่ออื่น
|
กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ),
ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล
(ทั่วไป)
|
ลักษณะทั่วไป
|
พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ
8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน
สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว
ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ
เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก
ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
|
สภาพที่
|
ดินทุกชนิด
แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย
|
ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น, นครศรีธรรมราช
ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น, นครศรีธรรมราช

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกราชพฤกษ์
|
ชื่อสามัญ
|
Golden Shower
Tree, Purging Cassia
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Cassis fistula
Linn.
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
คูน(อีสาน), ลมแล้ง(ภาคเหนือ),
ลักเกลือ ลักเคย(ปัตตานี), อ้อดิบ(ภาคใต้),
กุเพยะ(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชัยพฤกษ์
ราชพฤกษ์(ภาคกลาง)
|
ลักษณะทั่วไป
|
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ
12–15 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และ
รอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ
ใบย่อยมีประมาณ 4–8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม
ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตอนกลาง ทางใต้ของอเมริกา และออสเตรเลียตอนเหนือ
|
ดอกเหลืองจันทบูร
ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
จันทบุรี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกเหลืองจันทบูร
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Dendrodium
friedericksianum Rchb. f.
|
วงศ์
|
ORCHIDACEAE
|
ชื่ออื่น
|
หวายเหลืองจันทบูร
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก
บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง
ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4
ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ
เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร
|
การขยายพันธุ์
|
แยกลำ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เป็นกล้วยไม้รากอากาศ
ชอบอากาศชื้น
|
ถิ่นกำเนิด
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก
|
ดอกนนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกนนทรี
|
ชื่อสามัญ
|
Yellow
Flamboyant
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Peltophorum
pterocarpum (DC.) K. Heyne
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
กระถินป่า
กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง
25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง
ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง
มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินทั่วไป
ชอบแสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
เอเชียเขตร้อน
|
ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกประดู่
|
ชื่อสามัญ
|
Angsana,
Padauk
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Pterocarpus
indicus Willd
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
สะโน (ภาคใต้)
|
ลักษณะทั่วไป
|
ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา
ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง
มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินทั่วไป
ชอบแสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
|
ดอกชัยพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยนาท
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยนาท

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ชัยนาท
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกชัยพฤกษ์
|
ชื่อสามัญ
|
Javanese
Cassia, Rainbow Shower
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Cassia
javanica L.
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
ขี้เหล็กยะวา
|
ลักษณะทั่วไป
|
ลำต้นสูง 15–25 เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก รูปไข่แกมรูปรี ใต้ใบมีขน
ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู
โคนคอดเป็นก้านดอกจำนวนมากออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินทราย
ชอบแสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
อินโดนีเซีย
และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
ดอกกระเจียว
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ชัยภูมิ
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกกระเจียว
|
ชื่อสามัญ
|
Siam Tulip
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Curcuma
|
วงศ์
|
ZINGIBERACEAE
|
ชื่ออื่น
|
กาเตียว
(ตะวันออกเฉียงเหนือ), จวด (ใต้), อาวแดง (เหนือ)
|
ลักษณะทั่วไป
|
กระเจียว
เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน
เมื่อถึงฤดูฝนจึงจะเริ่มผลิใบและดอก ใบยาวคล้ายใบพาย ออกใบและดอกพร้อมกัน ต้นสูงประมาณ
2 ฟุต ดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง ออกดอกพร้อมกัน
|
การขยายพันธุ์
|
แยกหน่อ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
อากาศชื้นเย็น
|
ถิ่นกำเนิด
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ตามเขตชายแดนไทย-ลาว และตามเขตชายแดนไทย-เขมร
|
ดอกพุทธรักษา
ดอกไม้ประจำจังหวัดชุมพร
ดอกไม้ประจำจังหวัดชุมพร

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ชุมพร
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกพุทธรักษา
|
ชื่อสามัญ
|
Butsarana
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Canna indica
Linn.
|
วงศ์
|
CANNACEAE
|
ชื่ออื่น
|
|
ลักษณะทั่วไป
|
พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก
เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 1–2
เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า เจริญเติบโต โดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกล้วย
ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นชัด
ใบมีก้านใบยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น
ช่อดอกยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8–10
ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
|
การขยายพันธุ์
|
การเพาะเมล็ด, แยกหน่อ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
แสงแดดจัดกลางแจ้ง
|
ถิ่นกำเนิด
|
ประเทศอินเดีย
|
ดอกพวงแสด
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
เชียงราย
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกพวงแสด
|
ชื่อสามัญ
|
Orange
Trumpet, Flame Flower.
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Pyrostegia
venusta., Miers.
|
วงศ์
|
BIGNONIACEAE
|
ชื่ออื่น
|
|
ลักษณะทั่วไป
|
พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่
สามารถเลื้อยเกาะได้ไกลมากกว่า 40
ฟุต เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบ มี
3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบเป็นมือเกาะ
ใบออกสลับกัน สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน
ขอบใบเรียบไม่มีจัก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ
และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกดกจนดูแน่นช่อ มีกลีบรองดอก เป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงาย
ดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ
เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกยาวประมาณ 5–6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน
สั้นยาวไม่เท่ากัน สั้น 2 อัน และยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง สีตองอ่อน
และยาวกว่าเกสรตัวผู้ พวงแสดออกดอกช่วง เดือนธันวาคม–มีนาคม
ของทุกปี
|
การขยายพันธุ์
|
ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วน
ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
ประเทศบราซิลและอาเจนตินา
|
ดอกทองกวาว
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกทองกวาว
|
ชื่อสามัญ
|
Flame of the
forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Butea
monosperma
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
กวาว ก๋าว
(ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน
(อิสาน)
|
ลักษณะทั่วไป
|
ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ
10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก
ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน
ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง
มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม
เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
|
การขยายพันธุ์
|
การเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
อินเดีย
|
ดอกศรีตรัง
ดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง
ดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ตรัง
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกศรีตรัง
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Jacaranda
filicifolia D. Don.
|
วงศ์
|
BIGNONIACEAE
|
ชื่ออื่น
|
แคฝอย
(กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง
5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก
ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด
เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.
ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
|
การขยายพันธุ์
|
การเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินทุกชนิด
เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
|
ถิ่นกำเนิด
|
เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้
|
ดอกกฤษณา
ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด
ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ตราด
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกกฤษณา
|
ชื่อสามัญ
|
Eagle Wood,
Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac, Aglia, Akyaw
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Aquilaria
subintegra Ding Hau
|
วงศ์
|
THYMELAEACEAE
|
ชื่ออื่น
|
กฤษณา
(ภาคตะวันออก), กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี), ไม้หอม
(ภาคตะวันออก ภาคใต้)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30
เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์
เนื้อไม้มีสีขาว ต้นไม้ชนิดนี้หากมีบาดแผลซึ่งอาจเกิดจากการตัด แมงเจาะใช
หรือเป็นโรคจะขับสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในลำต้น
ออกมาทำหน้าที่ต้านความผิดปกติเหล่านั้น ทำให้บริเวณที่เกิดแผลดังกล่าวเปลี่ยน
เป็นสีดำและก่อตัวเป็นผลึก ทำให้เกิดความ แข็งแกร่งของเนื้อไม้
ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กฤษณา มีกลิ่นหอม ความผิดปกติ จะขยายไปเรื่อยๆ
ทำให้สีดำมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแก่นกฤษณา ที่มีสีดำนั้น
ถือว่าเป็นไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง มีราคาสูงมาก หากมีสีน้ำตาลเทา คุณภาพจะรองลงมา
ถ้ามีสีเหลืองปนดำ ถือว่าเป็นคุณภาพต่ำ ซึ่งไม้กฤษณาเป็นสินค้าที่นำมาทำ
หัวน้ำหอม ตลอดจนเครื่องหอมหลายชนิด
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ที่ชุ่มชื้นตามป่าดงดิบชื้นและแล้ง
หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำ ลำธาร สามารถขึ้นได้ในที่สูงถึง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางหรือมากกว่า
|
ถิ่นกำเนิด
|
พบในป่าดงดิบของจังหวัดระยอง
จันทบุรี ตราด
|
ดอกเสี้ยวดอกขาว
ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก, น่าน
ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก, น่าน

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ตาก, น่าน
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกเสี้ยวดอกขาว
|
ชื่อสามัญ
|
Orchid Tree,
Purple Bauhinia
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Bauhinia
variegata L.
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
เสี้ยวป่าดอกขาว
|
ลักษณะทั่วไป
|
ต้นสูง 5–10 เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน
ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6–10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วง เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี
ความชื้นสูง แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
อินเดีย, มาเลเซีย
|
ดอกสุพรรณิการ์
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
นครนายก, บุรีรัมย์ ,
สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกสุพรรณิการ์
|
ชื่อสามัญ
|
Yellow Cotton
Tree
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Cochlospermum
regium (Mart. & Schrank) Pilg.
|
วงศ์
|
BIXACEAE
(COCHLOSPERMACEAE)
|
ชื่ออื่น
|
ฝ้ายคำ
(ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
|
ลักษณะทั่วไป
|
ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5
แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง
ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
ปักชำ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
อากาศเย็น แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
อเมริกากลาง
และอเมริกาใต้
|
ดอกกันเกรา
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม, สุรินทร์
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม, สุรินทร์

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
นครพนม, สุรินทร์
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกกันเกรา
|
ชื่อสามัญ
|
Anan, Tembusu
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Fagraea
fragrans Roxb.
|
วงศ์
|
LOGANIACEAE
|
ชื่ออื่น
|
กันเกรา
(ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา
(เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
|
ลักษณะทั่วไป
|
ต้นสูงประมาณ 20–30 เมตร ไม่ผลัดใบ
เรือนยอดรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ำ หนาทึบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือแกมใบหอก
สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว
แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะดอกคล้ายแจกัน
ออกดอกตลอดปี
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ
แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน
ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม
และประเทศไทย
|
ดอกสาธร
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
นครราชสีมา
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกสาธร
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Millettia
leucantha Kurz
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
กระเจาะ
ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง),
ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ
สูง 18-19 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก
เปลือกสีเทาเรียบหรือ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ
ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3-5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว
แผ่นใบ ย่อยรูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ดอกสีขาว รูปดอกถั่ว
สีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง
ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เป็นไม้กลางแจ้ง
เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นมาก
|
ดอกเสลา
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
นครสวรรค์
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกเสลา
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Lagerstroemia
loudonii Binn.
|
วงศ์
|
LYTHRACEAE
|
ชื่ออื่น
|
เกรียบ
ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป),
อินทรชิต
|
ลักษณะทั่วไป
|
ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน
ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองด้าน
ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น
มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วงอมแดงกลีบดอกบาง ยับย่นออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลกลมรี เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5–6 พู เมล็ดจำนวนมาก มีปีก
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
เอเชียเขตร้อน
|
ดอกนนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกนนทรี
|
ชื่อสามัญ
|
Yellow
Flamboyant
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Peltophorum
pterocarpum (DC.) K. Heyne
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
กระถินป่า
กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง
25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง
ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง
มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินทั่วไป
ชอบแสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
เอเชียเขตร้อน
|
ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกบัวหลวง
|
ชื่อสามัญ
|
Nelumbo
nucifera
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Nymphaea
lotus Linn.
|
วงศ์
|
NYMPHACACEAE
|
ชื่ออื่น
|
บุณฑริก, สัตตบงกช
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก
มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ
ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น
มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
แยกกอจากหัวหรือเหง้า
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินเหนียว
ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง
แดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
แถบทวีปเอเชีย
เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
|
ดอกเกด
ดอกไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ประจวบคีรีขันธ์
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกเกด
|
ชื่อสามัญ
|
Milkey Tree
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Manilkara
hexandra
|
วงศ์
|
SAPOTACEAE
|
ชื่ออื่น
|
ครินี ไรนี
(ฮินดู), เกด (กลาง)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้น
สูงประมาณ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ
ออกดอกเป็นกลุ่ม ตามง่ามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม แต่ละดอกมี 18 กลีบ มีกลีบรองดอก 6 กลีบเรียงซ้อนกันเป็น 2
ชั้น ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
และตอนกิ่ง
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ป่าดงดิบแล้ง
และป่าชายหาดทางใต้ ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำน้อย
|
ถิ่นกำเนิด
|
ดอกปีป
ดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ปราจีนบุรี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกปีป
|
ชื่อสามัญ
|
Cork Tree
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Millingtonia
hortensis Linn. F.
|
วงศ์
|
BIGNONIACEAE
|
ชื่ออื่น
|
กาซะลอง
กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นสูงประมาณ
10–20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา ขรุขระ ใบออกเป็นช่อ ลักษณะใบกลมรี ขอบใบเรียบ
โคนใบมนใต้ใบเห็นเส้นใบชัดเจน ดอกออกเป็นช่อ ตั้งตรงลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 2–3
นิ้ว สีขาวปนเหลืองขนาด 2 เซนติเมตร
ปลายกลีบ ดอกเป็นแฉก 5 แฉก
ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อ
ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดลักษณะแบน
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
และการปักชำ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
แสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
|
ถิ่นกำเนิด
|
ไทย, พม่า
|
ดอกชบา
ดอกไม้ประจำจังหวัดปัตตานี
ดอกไม้ประจำจังหวัดปัตตานี
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ปัตตานี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกชบา
|
ชื่อสามัญ
|
Shoe flower
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Hibiscus spp.
|
วงศ์
|
MALVACEAE
|
ชื่ออื่น
|
Hibiscus,
Rose of China
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้พุ่มเตี้ย
ดอกมีทั้งซ้อน และไม่ซ้อน มีสีต่างๆ กัน เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู
สีงาช้าง มีทั้งดอกโต และดอกเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน ขอบใบเป็นรอยหยัก
ปลายใบแหลม ชบาเป็นไม้เนื้ออ่อนมีเปลือกไม้ค่อนข้างเหนียว
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการตอนกิ่ง
หรือปักชำ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
แสงแดดปานกลาง
|
ถิ่นกำเนิด
|
เขตร้อน จีน, อินเดีย และฮาวาย
|
ดอกโสน
ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
พระนครศรีอยุธยา
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกโสน
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Sesbania
aculeate
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
โสน, โสนหิน, โสนกินดอก (ภาคกลาง), ผักฮองแฮง (ภาคเหนือ)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ล้มลุก
เป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นสูงเปราะบางเพราะไม่มีแก่น สูงประมาณ 2–3 เมตร มีกิ่งก้านห่างๆ
ใบเล็กฝอยคล้าย กับใบมะขามหรือใบกระถิน ดอกสีเหลืองคล้ายดอกแค แต่ดอกเล็กกว่า
มีฝักยาว มีเมล็ดในฝักคล้ายกับถั่วเขียวแต่ฝักยาวกว่า
|
การขยายพันธุ์
|
โดยเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ที่ชื้นแฉะ
ริมคลอง ริมคูน้ำ
|
ดอกจำปูน
ดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา
ดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
พังงา
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกจำปูน
|
ชื่อสามัญ
|
Jum-poon
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Anaxagorea
siamensis
|
วงศ์
|
ANNONACEAE
|
ชื่ออื่น
|
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ต้นใบและกิ่งคล้ายๆ กระดังงา ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร กิ่งก้านจะเกลี้ยง
ลำต้นตรง เปลือกเรียบมีสีเทาคล้ำ ใบสีเขียวเป็นมัน พื้นใบเกลี้ยง ยาวประมาณ 4-6
นิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามยอดหรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกจะแข็ง
มีสีขาวเป็นมัน มี 3 กลีบ เมื่อบานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว มีกลิ่นหอมแรงตอนกลางวัน
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
แต่เพาะเมล็ดจะได้ผลดีกว่า
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เป็นไม้กลางแจ้ง
ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
|
ถิ่นกำเนิด
|
ภาคใต้ของประเทศไทย
|
ดอกยมหิน
ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่
ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
แพร่
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกยมหิน
|
ชื่อสามัญ
|
Almond-wood,
Chickrassy Chittagong-wood
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Chukrasia
velutina Roem.
|
วงศ์
|
MELIACEAE
|
ชื่ออื่น
|
โค้โย่ง
(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ช้ากะเดา (ใต้), ยมขาว (เหนือ), ยมหิน มะเฟืองต้น สะเดาช้าง สะเดาหิน (กลาง), ริ้งบ้าง
รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวยต่ำ เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ
สีเทาหรือ เทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น
ใบเป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบ เกลี้ยง
ดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เป็นไม้กลางแจ้ง
เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง
|
ถิ่นกำเนิด
|
ป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป
|
ดอกเฟื่องฟ้า
ดอกไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
ดอกไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ภูเก็ต
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกเฟื่องฟ้า
|
ชื่อสามัญ
|
Bougainvillea,
Peper Flower, Kertas
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Bougainvillea
spp.
|
วงศ์
|
NYCTAGINACEAE
|
ชื่ออื่น
|
ตรุษจีน, ดอกต่างใบ, ดอกกระดาษ
|
ลักษณะทั่วไป
|
เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย
ลำต้นมีความยาวประมาณ 1–10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ลำต้นมีหนามติดอยู่เป็นระยะๆ
ลักษณะทรงพุ่มตัดแต่งได้ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถา
รูปไข่ปลาย ใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ พื้นใบเรียบสีเขียว
ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ
ส่วนดอกจะมี ดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์
ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งจะให้ดอกดกมาก
|
การขยายพันธุ์
|
การตอน, การปักชำ, การเสียบยอด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี
|
ถิ่นกำเนิด
|
ประเทศบราซิล
|
ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
มหาสารคาม
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกลั่นทมขาว
(จำปาขาว)
|
ชื่อสามัญ
|
Frangipani
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Plumeria ssp.
|
วงศ์
|
APOCYNACEAE
|
ชื่ออื่น
|
ลีลาวดี, จำปาขาว
|
ลักษณะทั่วไป
|
ลั่นทมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง
เปลือกลำต้นหนา กิ่งอ่อนดูอวบน้ำ มียางสีขาวเหมือนนม ใบใหญ่สีเขียว
ออกดอกเป็นช่อช่อละ หลายดอก ดอกหนึ่งมี 5
กลีบ ดอกมีหลายสีแล้วแต่ละชนิดของพันธุ์ เช่น สีขาว แดง ชมพู
เหลือง และสีส้ม ออกดอกตลอดปี
|
การขยายพันธุ์
|
ปักชำ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
อเมริกาใต้
|
ดอกช้างน้าว
ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
มุกดาหาร
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกช้างน้าว
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Ochna
integerrima (Lour.) Merr.
|
วงศ์
|
OCHNACEAE
|
ชื่ออื่น
|
กระแจะ
(ระนอง), กำลังช้างสาร (กลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี),
ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), แง่ง
(บุรีรัมย์), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตาลเหลือง
(เหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี), โว้โร้
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
|
ลักษณะทั่วไป
|
ต้นสูง 3–8 เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดรูปใบหอก ขอบใบจักถี่ ใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง 2–8
ดอก มี 5–10 กลีบ สีเหลืองดอกร่วงง่าย
มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอก เดือนมกราคม–พฤษภาคม ผลกลม
เมื่อแก่เป็นสีดำมัน กลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่บนผล แล้วเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นแดง
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ตัดชำ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วน
ระบายน้ำดี แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
ดอกบัวตอง
ดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
แม่ฮ่องสอน
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกบัวตอง
|
ชื่อสามัญ
|
Mexican
Sunflower Weed
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Tithonia
diversifolia (Hemsl.) A. Gray.
|
วงศ์
|
COMPOSITAE
|
ชื่ออื่น
|
พอหมื่อนี่
|
ลักษณะทั่วไป
|
บัวตองเป็นไม้ดอกมีอายุยืนยาวหลายปีสามารถสูงได้ถึง
5 เมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวบริเวณปลายกิ่ง มีสีเหลืองคล้าย ดอกทานตะวัน
แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกวงนอกเป็นหมัน กลีบดอกเรียวมีประมาณ 12–14 กลีบ ดอกวงในสีเหลืองส้ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบบัวตองเป็นใบเดี่ยว
รูปไข่หรือแกมขอบขนาน มีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย ปลายใบเว้าลึก 3–5 แฉก
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
แสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
เม็กซิโก
|
ดอกบัวแดง
ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร
ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ยโสธร
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกบัวแดง
|
ชื่อสามัญ
|
Water Lily
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Nymphaea
lotus Linn.
|
วงศ์
|
NYMPHACACEAE
|
ชื่ออื่น
|
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก
มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ
ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น
มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
แยกกอจากหัวหรือเหง้า
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินเหนียว
ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง
แดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
ดอกบานบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส
ดอกไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
นราธิวาส
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกบานบุรี
|
ชื่อสามัญ
|
Golden
trumpet, Allamanda
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Allamanda
cathartica Linn.
|
วงศ์
|
|
ชื่ออื่น
|
บานบุรีหอม, บานบุรีแสด
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้เถาเล็ก
ใบยาวกว้างปลายแหลม ดอกคล้ายดอกผักบุ้ง สีม่วง สีเหลือง หรือสีแสดตามพันธุ์
กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกตลอดปี
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการตอนกิ่ง
หรือปักชำ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
แสงแดดปานกลาง
|
ถิ่นกำเนิด
|
บราซิล
และอเมริกาเขตร้อน
|
ดอกโกมาชุม
ดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง
ดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ระนอง
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกโกมาชุม
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Dendrodium
formosum
|
วงศ์
|
ORCHIDACEAE
|
ชื่ออื่น
|
เอื้องเงินหลวง
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นกล้วยไม้ประเภทอิงอาศัย
ลำต้นเจริญทางด้านข้าง มีลำลูกกล้วยตั้งตรง กลมค่อนข้างอ้วน ความยาวประมาณ 30–50 เซนติเมตร
ที่กาบใบมีขนสีดำลักษณะใบรูปไข่ยาวรี ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร
ปลายใบมี 2 แฉกไม่เท่ากัน ออกดอกที่ยอด ช่อดอกสั้น
ช่อหนึ่งๆ มี 3–5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว
ปากสีเหลืองส้มโคนปากสอบปลายปากเว้า มีสันนูนสองสันจากโคน ออกมาถึงกลางปาก
ขนาดดอกโตประมาณ 10 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อน
ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
|
การขยายพันธุ์
|
แยกลำ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เป็นกล้วยไม้รากอากาศ
ชอบอากาศชื้น
|
ถิ่นกำเนิด
|
บริเวณที่ราบต่ำและที่ราบสูงในประเทศอินเดีย
พม่า เวียตนาม และไทย
|
ดอกกัลปพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ราชบุรี
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกกัลปพฤกษ์
|
ชื่อสามัญ
|
Pink Cassia,
Pink Shower, Wishing Tree
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Cassia
bakeriana Craib.
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
กัลปพฤกษ์
(ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี)
|
ลักษณะทั่วไป
|
กัลปพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
สูง 5–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก ใบย่อย 5–8
คู่ ใบรูปไข่แกมขอบขนาน หรือแกมใบหอก โคนใบเบี้ยว
ใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู แล้วซีดจนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ผลเป็นฝักกลมยาวมีขนนุ่ม สีเทา เมล็ด จำนวนมาก
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย
ทนแล้งได้ดี
|
ถิ่นกำเนิด
|
ไทย ลาว พม่า
และเวียดนาม
|
ดอกธรรมรักษา
ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง
ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง

ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ลำปาง
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกธรรมรักษา
|
ชื่อสามัญ
|
Heliconia
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Heliconia
spp.
|
วงศ์
|
HELICONIACEAE
|
ชื่ออื่น
|
ก้ามกุ้ง
|
ลักษณะทั่วไป
|
ธรรมรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก
อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร
เจริญเติบโตโดยการแตกหน่อออกมาเป็นกอ ลักษณะใบคล้ายใบกล้วย เรียงสลับกัน
มีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดของใบ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะช่อดอกตั้งและห้อยลงแล้วแต่ชนิดพันธุ์
ในแต่ละช่อดอกมี 4–8 ดอก ดอกมีสีส้ม แดง เหลือง และชมพู
ผลคือส่วนของดอกเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นเมล็ด
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด, แยกกอ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
ดินร่วนปนทราย แสงแดดรำไร จนถึงแสงแดดจัด
|
ถิ่นกำเนิด
|
อเมริกาใต้
|
ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
เลย
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
|
ชื่อสามัญ
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Paphiopedilum
hirsutissimum
|
วงศ์
|
ORCHIDACEAE
|
ชื่ออื่น
|
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นกล้วยไม้แบบ
sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นแบบรากกึ่งดิน
ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมาก กว่าหยั่งลึกลงไปในดิน
ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 ซม.
ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นสีม่วงแดงจำนวนมาก กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ
โคนกลีบสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีเขียว กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ โคนสีเขียว
ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบ ด้านบนหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุมทั่วทั้งกลีบ
กลีบปากเป็นถุงลึก สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆ สีน้ำตาล
ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
|
การขยายพันธุ์
|
แยกหน่อ
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น
|
ถิ่นกำเนิด
|
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ
|
ดอกลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
ศรีสะเกษ
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกลำดวน
|
ชื่อสามัญ
|
Lamdman,
Devil Tree, White Cheesewood
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Melodorum
fruticosum Lour.
|
วงศ์
|
ANNONACEAE
|
ชื่ออื่น
|
ลำดวน
(ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
|
ลักษณะทั่วไป
|
ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ
5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก
ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม
โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม
ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ
ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง
กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
|
การขยายพันธุ์
|
การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินร่วนซุย
แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
|
ถิ่นกำเนิด
|
ประเทศแถบอินโดจีน
|
ดอกอินทนิลน้ำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร
ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร
.jpg)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
|
สกลนคร
|
ชื่อดอกไม้
|
ดอกอินทนิลน้ำ
|
ชื่อสามัญ
|
Queen’s
Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Lagerstroemia
speciosa Pers.
|
วงศ์
|
LYTHRACEAE
|
ชื่ออื่น
|
ฉ่วงมู
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา,
นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นสูง
10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา
ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่
กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน
ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่
|
การขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
ดินทุกชนิด
เป็นไม้กลางแจ้ง
|
ถิ่นกำเนิด
|
ที่ราบลุ่มริมน้ำ
ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น